ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วรรณคดีอีเหนา(แบบย่อ)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อิเหนา

วรรณคดีอีเหนา(แบบย่อ)อิเหนาเป็น วรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ(ครองราชย์ พ.ศ. 2275 – 2301) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง)
เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “อิเหนา ปันหยี กรัต ปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครองเนื้อเรื่อง "อิเหนา" แบบย่อ เริ่มเรื่องกล่าวถึงกษัตริย์วงศ์เทวา ๔ องค์ มีนามตามชื่อกรุงที่ครองราชย์ คือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี ยังมีนครหมันหยาซึ่งเกี่ยวดองเป็นญาติกันกับนครเหล่านี้ โดยท้าวกุเรปันได้นางนิหลาอระตาแห่งหมันหยาเป็นชายา ส่วนท้าวดาหาได้นางดาหราวาตีเป็นชายาเช่นกัน กษัตริย์แห่งวงศ์เทวามีมเหสี ๕ องค์เรียงลำดับตามตำแหน่งดังนี้ ประไหมสุหรี มะเดหวี มะโต ลิกู และเหมาหลาหงี ต่อมาท้าวกุเรปันได้โอรสกับมเหสีเอก ซึ่งโอรสองค์นี้มีวาสนาสูง องค์ปะตาระกาหลา ซึ่งเป็นต้นวงศ์เทวาอยู่บนสวรรค์ได้นำกริชวิเศษลงมาให้ พร้อมจารึกชื่อไว้บนกริชว่า "หยังหยังหนึ่งหรัดอินดรา อุดากันสาหรีปาตี อิเหนาเองหยังตาหลา" แต่เรียกสั้นๆว่า อิเหนา ท้าวหมันหยาได้ธิดากับมเหสีเอกชื่อ จินตะหราวาตี และท้าวดาหาได้ธิดากับมเหสีเอกของตนเช่นเดียวกันชื่อว่า บุษบา ท้าวกุเรปันได้ขอตุนาหงัน (หมั้นไว้) บุษบาให้แก่อิเหนา เพื่อเป็นการสืบราชประเพณี "...ตามจารีตโบราณสืบมา หวังมิให้วงศาอื่นปน..." ส่วนอิเหนาเติบโตเป็นเจ้าชายรูปงาม ชำนาญการใช้กริช ครั้นเมื่อพระอัยกีเมืองหมันหยาสิ้นพระชนม์ อิเหนาได้ไปในงานปลงพระศพแทนพระบิดาและพระมารดาซึ่งทรงครรภ์แก่ ได้ไปพบนางจินตะหราก็หลงรัก และได้นางเป็นชายา โดยไม่ฟังคำทัดทานจากท้าวกุเรปัน และได้บอกเลิกตุหนาหงันนางบุษบาเสียเฉยๆ ทำให้ท้าวดาหาขัดเคืองพระทัยมาก ดังนั้นพอจรกาซึ่ง "รูปชั่วตัวดำ" มาขอตุนาหงัน ท้าวดาหาก็ยอมรับเพราะแค้นอิเหนา ต่อมา มะเดหวีซึ่งคงจะวุ่นพระทัยว่าบุษบาจะลงเอยประการใด จึงชวนบุษบากับนางกำนัลไปทำพิธีเสี่ยงเทียนยังวิหาร ใกล้ๆวิหารนั้นพวกอิเหนากำลังตั้งวงเตะตะกร้อ ครั้นพวกสาวใช้มะเดหวีขึ้นมาไล่ ก็พากันวิ่งหนีกระจายไป แต่อิเหนา สังคามาระตาและประสันตาวิ่งเข้าไปแอบอยู่หลังพระปฏิมาในวิหาร วิธีเสี่ยงทายนั้น ใช้เทียนสามเล่ม เล่มหนึ่งเป็นบุษบา ปักตรงหน้านาง อีกเล่มเป็นอิเหนาปักข้างขวา และข้างซ้ายเป็นจรกา แล้วมะเดหวีสอนให้บุษบากล่าวอธิษฐานว่า "...แม้น...จะได้ข้างไหนแน่ ให้ประจักษ์แท้จงหนักหนา แม้นจะได้ข้างระตูจรกา ให้เทียนพี่ยานั้นดับไป..." บุษบาแม้จะอายใจเต็มทีก็จำต้องทำตามมะเดหวี แล้วก็มีเสียงจากปฏิมาว่า "...อันนางบุษบานงเยาว์ จะได้แก่อิเหนาเป็นแม่นมั่น จรกาใช่วงศ์เทวัญ แม้นได้ครองกันจะอันตราย" มะเดหวีได้ยินดังนั้น ก็ตื่นเต้นดี พระทัย แต่ไม่ช้าเรื่องก็แตก เพราะอิเหนาต้อนค้างคาวจนเทียนดับ แล้วใช้ความมืดเข้ามากอดบุษบา แล้วก็ไม่ยอมปล่อย จนพี่เลี้ยงไปเอาคบเพลิงมา ก็เห็นอิเหนากอดบุษบาไว้แน่น มะเดหวีจะกริ้วโกรธอย่างไร ก็เห็นว่าเสียทีอิเหนาเสียแล้ว จึงยอมสัญญาว่าจะหาทางให้อิเหนาได้กับบุษบา อิเหนาจึงยอมปล่อย ครั้นไม่เห็นทางได้บุษบาแต่โดยดี อิเหนาก็คิดอุบายที่ร้ายแรงที่สุด คือเผาโรงมโหรสพในพิธีแต่งงานของบุษบาและจรกาในเมืองดาหา แล้วลักนางไปไว้ ในถ้ำทอง ซึ่งเตรียมไว้ก่อนแล้ว
องค์ปะตาระกาหลากริ้วอิเหนามาก จึงบันดาลให้เกิดพายุใหญ่หอบรถนางบุษบาและพี่เลี้ยงไปตกที่ชายเมืองประมอตัน
แล้วแปลงกายนางบุษบาให้เป็นชายชื่อว่า อุณากรรณ ประทานกริชวิเศษให้ และบอกให้เดินทางเข้าสู่เมืองประมอตัน ต่อจากนี้ก็ถึงบทมะงุมมะงาหรา (ท่องเที่ยวหา) อิเหนาเป็นฝ่ายตามหา บุษบาเป็นฝ่ายหนีเดินทางไปตามเมืองต่างๆ ปราบเมืองนั้นๆ ไว้ในอำนาจ มีเหตุการณ์สนุกตื่นเต้นสลับซับซ้อน เช่น ธิดาเจ้าเมืองต่างๆ เข้าใจว่าอุณากรรณเป็นผู้ชายก็หลงรักตอนมะงุมมะงา หราเป็นเรื่องราวสักครึ่งหนึ่งของเรื่องทั้งหมด
เมื่อสิ้นเวรสิ้นกรรมแล้ว กษัตริย์วงศ์เทวาทั้งหมดก็ได้พบกัน อิเหนาได้ปรับความเข้าใจกับนางจินตะหราและได้ครองเมืองกุเรปันอย่างมีความสุขสืบ ไป


อ้างอิง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

14 ตุลา วันมหาวิปโยค วีรชนคนรุ่นหลังที่ควรจดจำ

14 ตุลา วันมหาวิปโยค วีรชนคนรุ่นหลังที่ควรจดจำ 14 ตุลา วันมหาวิปโยค วีรชนคนรุ่นหลังที่ควรจดจำ 40 ปีเต็มที่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ การเรียกร้องประชาธิปไตยของมวลชนนักศึกษาและเหล่าประชาชนยังคงเป็นที่จดจำมาถึงทุกวันนี้ แต่คงมีหลายคนที่เกิดไม่ทันในยุคนั้น ถึงวันนี้วันแห่งประวัติศาสตร์เวียนมาอีกครั้ง สำหรับใครที่เกิดไม่ทัน มาย้อนอดีตพร้อมๆกัน เหตุการณ์ความกล้าหาญของเหล่าวีรชนที่ยืนหยัดต่อสู้กับอำนาจเผด็จการเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เริ่มมาจากการที่ จอมพลถนอม กิตติขจร  ทำการรัฐประหารตัวเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 โดยนักศึกษาและประชาชนมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจตนเองจาก  จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  อีกทั้ง  จอมพลประภาส จารุเสถียร  ต่ออายุราชการให้ตนเอง ประกอบกับ ข่าว คราวเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการต่าง ๆ สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่ประชาชน รวมถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม พบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ที่ถูกล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน สร้างกระแสไม่พอใจ และเกิดคำถามในหมู่...

การเลิกทาส

การเลิกทาส 1 สาเหตุในการเลิกทาส มีสาเหตุที่สำคัญดังต่อไปนี้          1) อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มุ่งปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนได้แพร่ขยายเข้ามาในสังคมไทยภายหลังที่ไทยได้ติดต่อค้าขายกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง ภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย         2) อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่กำลงส่อเค้าว่าจะคุกคามไทย ถ้าสังคมไทยยังมีลักษณะป่าเถื่อนล้าหลัง และพลเมืองส่วนใหญ่ยังตกเป็นทาส โดยที่มหาอำนาจตะวันตกจะถือเป็นข้ออ้างเข้ามาช่วยสร้างความเจริญให้ด้วยการเข้ามายึดครอง ดังนั้น การปรับสังคมด้วยการเลิกทาสย่อมเป็นการลดกระแสกดดันของลัทธิจักรวรรดินิยมได้         3) ความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องการแรงงานเสรีเพิ่มมากขึ้น โดยระบบการค้าเสรีที่เกิดขึ้นภายหลังสนธิสัญญาบาวริง ทำให้ธุรกิจการค้าและการผลิตต่างๆ ขยายตัวออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตข้าว ซึ่งการปลดปล่อยทาสให้มีอ...