ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2017

14 ตุลา วันมหาวิปโยค วีรชนคนรุ่นหลังที่ควรจดจำ

14 ตุลา วันมหาวิปโยค วีรชนคนรุ่นหลังที่ควรจดจำ 14 ตุลา วันมหาวิปโยค วีรชนคนรุ่นหลังที่ควรจดจำ 40 ปีเต็มที่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ การเรียกร้องประชาธิปไตยของมวลชนนักศึกษาและเหล่าประชาชนยังคงเป็นที่จดจำมาถึงทุกวันนี้ แต่คงมีหลายคนที่เกิดไม่ทันในยุคนั้น ถึงวันนี้วันแห่งประวัติศาสตร์เวียนมาอีกครั้ง สำหรับใครที่เกิดไม่ทัน มาย้อนอดีตพร้อมๆกัน เหตุการณ์ความกล้าหาญของเหล่าวีรชนที่ยืนหยัดต่อสู้กับอำนาจเผด็จการเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เริ่มมาจากการที่ จอมพลถนอม กิตติขจร  ทำการรัฐประหารตัวเองในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 โดยนักศึกษาและประชาชนมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจตนเองจาก  จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  อีกทั้ง  จอมพลประภาส จารุเสถียร  ต่ออายุราชการให้ตนเอง ประกอบกับ ข่าว คราวเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการต่าง ๆ สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่ประชาชน รวมถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม พบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ที่ถูกล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน สร้างกระแสไม่พอใจ และเกิดคำถามในหมู่...

การเลิกทาส

การเลิกทาส 1 สาเหตุในการเลิกทาส มีสาเหตุที่สำคัญดังต่อไปนี้          1) อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่มุ่งปลดปล่อยทาสให้เป็นเสรีชนได้แพร่ขยายเข้ามาในสังคมไทยภายหลังที่ไทยได้ติดต่อค้าขายกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง ภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริง พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะยกเลิกการมีทาสในสังคมไทย         2) อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่กำลงส่อเค้าว่าจะคุกคามไทย ถ้าสังคมไทยยังมีลักษณะป่าเถื่อนล้าหลัง และพลเมืองส่วนใหญ่ยังตกเป็นทาส โดยที่มหาอำนาจตะวันตกจะถือเป็นข้ออ้างเข้ามาช่วยสร้างความเจริญให้ด้วยการเข้ามายึดครอง ดังนั้น การปรับสังคมด้วยการเลิกทาสย่อมเป็นการลดกระแสกดดันของลัทธิจักรวรรดินิยมได้         3) ความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องการแรงงานเสรีเพิ่มมากขึ้น โดยระบบการค้าเสรีที่เกิดขึ้นภายหลังสนธิสัญญาบาวริง ทำให้ธุรกิจการค้าและการผลิตต่างๆ ขยายตัวออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตข้าว ซึ่งการปลดปล่อยทาสให้มีอ...

วรรณคดีอีเหนา(แบบย่อ)

วรรณคดีอีเหนา(แบบย่อ) อิเหนา เป็น วรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ(ครองราชย์ พ.ศ. 2275 – 2301) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “อิเหนา ปันหยี กรัต ปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครอง เนื้อเรื่อง "อิเหนา" แบบย่อ เริ่มเรื่องกล่าวถึงกษัตริย์วงศ์เทวา...

สมาร์ทโฟนและระบบios

อะไรคือสมาร์ทโฟน สมาร์ทโฟน เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาในมือของท่าน มีทุกอย่างที่คอมพิวเตอร์มี เช่น CPU ความจำภายใน ฮาร์ดดิสก์ (ซึ่งในโทรศัพท์เรียกว่า รอม) เป็นต้น หากต้องการติดตั้งระบบปฏิบัติการต่างๆ (ระบบ XP ในคอมพิวเตอร์ ระบบแอนดรอยด์ในโทรศัพท์) ผู้ใช้สามารถเลือกแอปพลิเคชั่นที่ต้องการใช้ได้ และสามารถสัมผัสกับประสบการณ์ความอัจฉริยะใหม่ๆได้ แน่นอนว่า ปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์นั้น ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับสมาร์ทโฟนได้เช่นกัน ถือเป็นเหตุการณ์ปกติ เช่น หากใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ระบบต่างๆในคอมพิวเตอร์ก็จะเริ่มทำงานช้าลง การติดตั้งแอพพลิเคชั่นที่ไม่ได้มาตรฐานหรือมีพลังงานที่ไม่เพียงพอก็สามารถทำให้เครื่องค้างได้ หรือแม้กระทั่งการติดไวรัสก็สามารถส่งผลให้ระบบหรือข้อมูลเสียหายไปได้ ดังนั้นผู้ใช้ควรสร้างความเคยชินในการบำรุงรักษา "โทรศัพท์" ของท่าน ประวัติความเป็นมา           ระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) มีชื่อเดิมว่า iPhone OS เริ่มต้นด้วยการเปิดตัวของ iPhone เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550 ระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับสมา...